หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > มาทำความรู้จักกับ ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็นกัน
มาทำความรู้จักกับ ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็นกัน
มาทำความรู้จักกับ ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็นกัน
25 Feb, 2021 / By dmarkk
Images/Blog/9guA4zZ0-ร้อนเย็นd-1.jpg

ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็นคืออะไร

ฤทธิ์ร้อนกับฤทธิ์เย็นก็เหมือนกันหยิน-หยาง ของคนจีน ทั้งสองฤทธิ์จะต้องสมดุลร่างกายจึงจะแข็งแรง ถ้าฤทธิ์ใดมากกว่าอีกฤทธิ์หนึ่งเมื่อไหร่ ร่างกายก็จะขาดความสมดุล ทำให้เกิดภาวะร่างกายร้อนเกิน หรือเย็นเกิน โรคต่างๆ ก็จะตามมา

 

ร่างกายจะมีอาการอย่างไรถ้าร่างกายมีภาวะร้อนเกิน
ร่างกายจะแสดงอาการ เช่น
- หิวน้ำ
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย พักผ่อนก็ไม่หาย
- เครียด และควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้
- เป็นสิว ฝ้า ผื่นคัน
- เหงื่อออกง่าย
- ตัวร้อน ลมหายใจร้อน วิงเวียนศรีษะบ่อยๆ
- รู้สึกร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก
- สะอึก
- ออกร้อนในช่องท้อง ฝ่ามือ และเท้าร้อน
- ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย

 

ร่างกายจะมีอาการอย่างไรถ้าร่างกายมีภาวะเย็นเกิน
ร่างกายจะแสดงอาการ และโรคต่างๆ เช่น
- ท้องอืด จุกเสียดแน่น
- หนาวสั่นได้ง่าย เป็นหวัด น้ำมูกใส แต่ไม่เจ็บคอ
- ตาแฉะ ขี้ตามาก หนังตาบวม
- หน้าซีด มือเท้าเย็น เป็น เหน็บชาหน้ามืด วิงเวียนบ่อย
- มึนหัวตื้อๆ
- สมองเฉื่อย เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
- ตะคริว นิ้วล็อก ข้อติด บวมตามข้อ
- รูมาตอยด์
- ไตวายภูมิแพ้ หอบหืด
- ถ่ายอุจจาระลำบาก
- ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
- เจ็บหน้าอกด้านขวา
- มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า

โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่
- โรคหัวใจ
- เนื้องอก มะเร็ง
- โรคเกาต์
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร
- มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก
- กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ
- ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต
- นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกันก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน
ร่างกายจะแสดงอาการ และโรคต่างๆ เช่น
- ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
- ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
- ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา

กรณีไม่แน่ใจว่าร่างกายเราไม่สมดุลแบบไหน ให้แก้ภาวะร้อนเกินไว้ก่อน เพราะคนส่วนใหญ่ ณ ยุคปัจจุบันประมาณ 80% จะป่วยด้วยโรคภาวะร้อนเกินอย่างเดียว ส่วนผู้ที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดพร้อมกันมีประมาณ 15% สำหรับผู้ที่มีภาวะเย็นเกินอย่างเดียวมีประมาณ 5%

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกินร่างกายไม่สมดุลร้อน-เย็นคือ อาหาร เราจึงต้องเรียนรู้ว่าอาหารชนิดใดมีฤทธิ์ร้อน หรือฤทธิ์เย็น เพื่อจะได้ปรับการกินอาหารให้สมดุล ไม่ใช่จำเพียงว่าอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนนั้นไม่ดีอย่างเดียว

 

แหล่งที่มา:
หนังสือ "มาเป็นหมอดูแลตัวเองกันเถอะ" ของ หมอเขียว
http://health.kapook.com/view7009.html
http://www.mmc.co.th/articles/4209050

https://coolinggreenlife.com/health

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.